เคพีเอ็มจีหนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) เสริมกลยุทธ์ธุรกิจด้วยแนวทางสร้างมูลค่าด้วยการพัฒนาขององค์กรอย่างยั่งยืน

เคพีเอ็มจี หนุน SME เสริมกลยุทธ์ธุรกิจด้วยแนวทางสร้างมูลค่า ESG ผ่าน 4 ขั้นตอน

เคพีเอ็มจี หนุน SME เสริมกลยุทธ์ธุรกิจด้วยแนวทางสร้างมูลค่า ESG ผ่าน 4 ขั้นตอน

EN | TH

กรุงเทพฯ 28 เมษายน 2566 – เคพีเอ็มจี ประเทศไทย แนะนำแนวทางการการพัฒนาขององค์กรอย่างยั่งยืนโดยสร้างคุณค่าด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) สี่ขั้นตอนสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) เพื่อขับเคลื่อนความสำเร็จของธุรกิจ เนื่องจากปัจจัยด้าน ESG มีความสำคัญต่อความสำเร็จและความยืดหยุ่นในการปรับตัวของธุรกิจในทุกภาคส่วนมากขึ้น

เนื่องจากความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับองค์กรมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประกอบไปด้วย ลูกค้า พนักงาน ผู้ถือหุ้น เจ้าหนี้  ซัพพลายเออร์ และหน่วยงานของรัฐต่างเรียกร้องให้ธุรกิจคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม การลงทุนในการดำเนินธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมนั้นสามารถให้ประโยชน์ต่อธุรกิจหลายประการ เช่น ต้นทุนการดำเนินงานที่ลดลง ความพึงพอใจของลูกค้าที่สูงขึ้น การเข้าถึงแหล่งทุนที่ดีขึ้นในเงื่อนไขที่เอื้ออำนวย การเข้าถึงผู้มีความสามารถระดับสูง และชื่อเสียงขององค์กรที่ดีขึ้น

เคพีเอ็มจี ได้วางแนวทางการสร้างมูลค่าผ่านกลยุทธ์ ESG ในสี่ขั้นตอนสำหรับ SME ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1: การเข้าใจใน ESG

สร้างความมั่นใจว่าทุกคนในองค์กรเข้าใจแรงจูงใจ ประโยชน์ และแนวคิดที่สำคัญของ ESG ทั้งนี้ผู้บริหารทุกท่านให้การสนับสนุนนโยบาย ESG จากระดับบนจนถึงระดับล่าง รวมทั้งการมีส่วนร่วมกับผู้นำด้านต่างๆ ขององค์กรเพื่อสร้างวิสัยทัศน์ ESG ที่ราบรื่นสำหรับพนักงานทุกคน 

ขั้นตอนที่ 2: การพัฒนากรอบแนวทาง ESG

รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลตลาด คู่แข่ง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อจัดลำดับหัวข้อ ESG ที่สำคัญต่อองค์กร การรวบรวมข้อมูล ESG อาจเป็นเรื่องท้าทาย เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับหลายเรื่อง เช่น ความหลากหลายทางชีวภาพ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ความหลากหลายของผู้คนในองค์กร ความเสมอภาค การอยู่ร่วมกัน สุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน และความปลอดภัยทางไซเบอร์ เพื่อให้แน่ใจว่าแผน ESG ขององค์กรสามารถทำได้จริง สิ่งสำคัญคือจะต้องจำกัดหัวข้อ ESG ให้แคบลงเฉพาะสิ่งที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กรธุรกิจนั้นๆ

องค์กรมีหน้าที่ดำเนินการศึกษาตลาดและคู่แข่ง และศึกษา "สถานะปัจจุบัน" หรือ "สถานะเป้าหมาย" ของการปฏิบัติภายในขององค์กรเอง และต้องมีการปรึกษาในเชิงลึกกับทั้งภายในองค์กรและกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกองค์กรเพื่อกำหนดลำดับความสำคัญของกลยุทธ์ ESG 

ขั้นตอนที่ 3: การออกแบบและการเริ่มโครงการ ESG

พัฒนาแผนปฏิบัติการ ESG ทั่วทั้งองค์กรและเริ่มดำเนินโครงการที่เชื่อมโยงกับหัวข้อ ESG ที่สำคัญต่อองค์กร เพื่อลดความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพและใช้ประโยชน์จากโอกาสการเริ่มโครงการนี้  

3 เทรนด์ ESG ของปี 2566:

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ: ผู้ประกอบการ SME ควรประเมินผลกระทบจากการดำเนินงานขององค์กรที่มีผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศเพื่อเตรียมความพร้อมในการนำเป้าหมายที่จะลดผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศ เช่น การปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero) และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศก่อให้เกิดความเสี่ยงทางการเงินต่อการดำเนินงาน เช่น ผลกระทบทางกายภาพที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับสินทรัพย์และ/หรือ ห่วงโซ่อุปทาน และต้นทุนการปฏิบัติตามกฎระเบียบ ความคาดหวังด้านสภาพอากาศของหน่วยงานกำกับดูแล ลูกค้า เจ้าหนี้ พนักงาน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนทำให้การเปิดเผยและการจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับ SME หลายราย 

เศรษฐกิจหมุนเวียน: ในสภาพแวดล้อมที่ทรัพยากรมีจำกัดและห่วงโซ่อุปทานอยู่ภายใต้ความตึงเครียด เศรษฐกิจหมุนเวียนมีข้อดีหลายประการ เช่น การลดของเสียที่ตกค้าง การปรับปรุงสมดุลของสิ่งแวดล้อม การหาแหล่งรายได้ใหม่ที่มีศักยภาพ และการเพิ่มผลกำไร ในขณะเดียวกัน เศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 

ความหลากหลายของผู้คนในองค์กรและการอยู่ร่วมกัน: ในตลาดการจ้างงานเต็มรูปแบบ ภาพลักษณ์แบรนด์ของธุรกิจคือตัวสร้างความแตกต่างที่สำคัญ ธุรกิจที่มีสถานที่ทำงานที่พนักงานมีส่วนร่วม มีความเสมอภาค และมีการยอมรับในความหลากหลายของผู้คนในองค์กร จะมีความได้เปรียบในการแข่งขัน ไม่เพียงแต่ในการผลักดันนวัตกรรม ประสิทธิภาพการดำเนินงาน และการเติบโตเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการดึงดูดบุคคลากรที่มีความสามารถใหม่ๆ และทำให้ทุกคนมีส่วนร่วมในองค์กร

ขั้นตอนที่ 4: การวัดและแสดงผล ESG

วัดผลลัพธ์ของแต่ละหัวข้อ ESG ที่สำคัญต่อองค์กร ติดตาม และแสดงให้เห็นผลการดำเนินงาน

“คุณไม่สามารถจัดการสิ่งที่คุณไม่ได้วัดหรือประเมิน” การใช้ระบบตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพในด้าน ESG จะช่วยทำให้ทราบโอกาสในการปรับปรุง การจัดการ แนวทางการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ และแสดงให้เห็นถึงความคืบหน้าอย่างต่อเนื่องในการดำเนินแผนงาน ESG ขององค์กร การเปิดเผยผลการดำเนินโครงการ ESG ขององค์กรสู่ภายนอกเป็นการสร้างโอกาสที่จะได้รับความน่าเชื่อถือและการยอมรับในโครงการ ESG ขององค์กรกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอก


SME เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของเศรษฐกิจไทยและมีบทบาทสำคัญในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น ด้วยการบูรณาการปัจจัย ESG เข้ากับกลยุทธ์ทางธุรกิจนั้น SME ไม่อาจมุ่งเน้นไปที่เป้าหมายทางธุรกิจในระยะยาวเพียงอย่างเดียวได้ แต่ยังต้องมีส่วนร่วมกับสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วย

ปัจจัยด้าน ESG สามารถส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงของบริษัท ภาพลักษณ์ของแบรนด์ ความภักดีของลูกค้า ความพึงพอใจของพนักงาน และความเชื่อมั่นของนักลงทุน ซึ่งท้ายที่สุดจะส่งผลต่อผลตอบแทนด้านกำไรและอื่นๆ ดังนั้น การผนวก ESG เข้ากับกลยุทธ์หลักของธุรกิจจะสามารถช่วย SME ลดความเสี่ยง คว้าโอกาส และสร้างมูลค่าให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด

 


ธเนศ เกษมศานติ์
หัวหน้าฝ่ายสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล
เคพีเอ็มจี ประเทศไทย


เกี่ยวกับเคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล

เคพีเอ็มจี เป็นเครือข่ายระดับโลกของบริษัทที่ให้บริการตรวจสอบบัญชี ภาษี และที่ปรึกษาธุรกิจ เคพีเอ็มจี เป็นแบรนด์ภายใต้บริษัทสมาชิกของ เคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (“เคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล”) ดำเนินการและให้บริการอย่างมืออาชีพ “เคพีเอ็มจี” ใช้เพื่ออ้างถึงบริษัทสมาชิกแต่ละแห่งภายในเครือข่าย เคพีเอ็มจี หรือบริษัทสมาชิกหนึ่งหรือหลายบริษัทรวมกัน

เครือข่าย เคพีเอ็มจี ดำเนินงานใน 143 ประเทศ และเขตการปกครอง โดยมีหุ้นส่วนและพนักงานมากกว่า 265,000 คน

บริษัท เคพีเอ็มจี แต่ละแห่งเป็นนิติบุคคลที่แตกต่างกัน และแยกจากกันตามกฎหมาย บริษัทสมาชิก เคพีเอ็มจี แต่ละแห่งมีหน้าที่รับผิดชอบและหนี้สินของตนเอง

เคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เป็นบริษัทเอกชน ในประเทศอังกฤษ โดยการรับประกัน เคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ให้บริการแก่ลูกค้า
ท่านสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงสร้างองค์กรได้ที่ kpmg.com/governance

เกี่ยวกับ เคพีเอ็มจี ประเทศไทย

เคพีเอ็มจี ประเทศไทย มีพนักงานมากกว่า 2,000 คน ซึ่งให้บริการด้านการสอบบัญชีและการให้ความเชื่อมั่นอื่น ภาษี กฎหมายและให้คำปรึกษาทางธุรกิจ เคพีเอ็มจี ประเทศไทยเป็นสมาชิกของ เครือข่ายเคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งเป็นองค์กร เอกชน จำกัด ในอังกฤษ

สำหรับสื่อมวลชน กรุณาติดต่อ:

กัมปนาท อินทร์ด้วง
อีเมล: kampanati@kpmg.co.th