ซีอีโอธุรกิจค้าปลีกรักษาสมดุลระหว่างความกังวลทางเศรษฐกิจกับการลงทุนใน AI
ซีอีโอธุรกิจค้าปลีกมั่นใจในแนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมแม้เผชิญความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ พร้อมเรียกร้องให้ข้อบังคับ AI เข้มงวดขึ้น
ซีอีโอธุรกิจค้าปลีกมั่นใจในแนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมแม้เผชิญความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ
EN | TH
- ซีอีโอธุรกิจสินค้าอุปโภคและค้าปลีก ร้อยละ 82 มั่นใจในแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจของตน มีเพียงร้อยละ 59 ที่มีมุมมองเชิงบวกต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดในทุกภาคธุรกิจที่ได้ทำการสำรวจ
- ในปี 2567 ความท้าทายหลักสามประเด็นที่ซีอีโอธุรกิจสินค้าอุปโภคและค้าปลีก ต้องเผชิญ ได้แก่ ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ (ร้อยละ 58) ความซับซ้อนทางภูมิรัฐศาสตร์ (ร้อยละ 53) และการนำ Gen AI มาใช้ (ร้อยละ 48)
- ซีอีโอธุรกิจสินค้าอุปโภคและค้าปลีก ร้อยละ 81 (สูงที่สุดในทุกภาคธุรกิจ) ระบุว่ากฎระเบียบเกี่ยวกับ Gen AI ควรมีความเข้มงวดในระดับเดียวกับการดำเนินการด้านความรับผิดชอบต่อสภาพภูมิอากาศ
- ซีอีโอธุรกิจสินค้าอุปโภคและค้าปลีก ร้อยละ 74 มองว่าหลักการด้าน ESG ได้ถูกบูรณาการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจอย่างสมบูรณ์ และร้อยละ 63 มั่นใจว่าจะบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2573 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทุกภาคธุรกิจ คือ ร้อยละ 51 อย่างมีนัยสำคัญ
กรุงเทพฯ 23 ธันวาคม 2567 – การสำรวจซีอีโอในธุรกิจสินค้าอุปโภคและค้าปลีก (Consumer and retail: C&R) จำนวน 120 คนทั่วโลกแสดงให้เห็นว่าซีอีโอมั่นใจในแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจของตน แต่มีความเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจในสามปีข้างหน้า
การสำรวจ CEO Outlook ปี 2567 ของเคพีเอ็มจี ซึ่งดำเนินมาในระดับโลกเป็นปีที่สิบ เผยว่าผู้นำภาคสินค้าอุปโภคและค้าปลีกร้อยละ 82 เชื่อว่าพวกเขากำลังอยู่ในระยะเติบโต (เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 79 ในปี 2566) แต่มีเพียงร้อยละ 59 เท่านั้นที่มองในแง่บวกเกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับทุกภาคธุรกิจที่เคพีเอ็มจีได้ทำการสำรวจ
ความท้าทายสามอันดับแรกสำหรับซีอีโอธุรกิจสินค้าอุปโภคและค้าปลีก ในปี 2567 ได้แก่ ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ (ร้อยละ 58) ความซับซ้อนทางภูมิรัฐศาสตร์ (ร้อยละ 53) และการนำเทคโนโลยี Gen AI มาใช้ (ร้อยละ 48) แม้ต้องเผชิญความท้าทายเหล่านี้ ความเชื่อมั่นที่พวกเขามีต่อการเติบโตของภาคธุรกิจยังคงเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 76 ในปี 2566 เป็นร้อยละ 81 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยรวมทุกภาคธุรกิจอยู่ที่ร้อยละ 74 ความเชื่อมั่นเชิงบวกนี้อาจเป็นผลมาจากบทบาทของธุรกิจค้าปลีกใน “เศรษฐกิจจริง” (real economy) ในด้านการจัดหาสินค้าที่จำเป็นและบริการต่าง ๆ ที่ยังคงมีความสำคัญแม้ในช่วงที่ต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ
การแข่งขันเพื่อโอบรับ AI
เทคโนโลยี Gen AI เป็นวาระสำคัญของซีอีโอภาคสินค้าอุปโภคและค้าปลีก โดยร้อยละ 81 มองว่าเป็นการลงทุนที่สำคัญ โดยเฉพาะในการขายและการตลาด ขณะที่ซีอีโอจำนวนมากได้สำรวจศักยภาพของ AI แนวทางในการใช้งานก็กำลังเปลี่ยนจากโครงการทดลองไปสู่การสร้างผลตอบแทนที่เป็นรูปธรรม ซีอีโอภาคสินค้าอุปโภคและค้าปลีกมากกว่าครึ่ง (ร้อยละ 67) มั่นใจว่าพวกเขาจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนกับ Gen AI ภายในสามถึงห้าปีนี้
อย่างไรก็ตาม ความท้าทายที่ซีอีโอเล็งเห็นจากการนำ Gen AI มาใช้งานก็ได้เปลี่ยนไปในปีนี้เช่นกัน ท่ามกลางความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการใช้งานเทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรมและการนำ AI มาใช้งานในสื่อ ซีอีโอธุรกิจสินค้าอุปโภคและค้าปลีก ตระหนักถึงความเสี่ยงที่เป็นผลพวงของการเข้ามาที่รวดเร็วของเทคโนโลยี ซีอีโอร้อยละ 61 ชี้ว่า ความท้าทายด้านจริยธรรมเป็นหนึ่งในความท้าทายที่รับมือได้ยากมากที่สุดในการนำ AI มาใช้ในธุรกิจ และซีอีโอภาคสินค้าอุปโภคและค้าปลีกยังตระหนักถึงความจำเป็นในการกำกับดูแลที่เข้มงวด โดยส่วนใหญ่ (ร้อยละ 84 มากที่สุดในทุกภาคธุรกิจ) กล่าวว่าระดับของข้อบังคับที่เกี่ยวกับ Gen AI ควรมีความเข้มงวดในระดับเดียวกับการดำเนินการด้านความรับผิดชอบต่อสภาพภูมิอากาศ
ESG: ความมั่นใจสูงขึ้นแม้มีช่องว่างในแผนงาน Net zero
ซีอีโอภาคสินค้าอุปโภคและค้าปลีกเข้าใจว่าการดำเนินงานด้าน ESG อย่างมีประสิทธิภาพนั้นจำเป็นอย่างยิ่งต่อการดำเนินธุรกิจ กลยุทธ์ และการสร้างความไว้วางใจจากสาธารณชน การละเลยในเรื่องนี้อาจส่งผลเสียต่อความยั่งยืนและชื่อเสียงของแบรนด์ โดยร้อยละ 74 ของผู้นำภาคสินค้าอุปโภคและค้าปลีกระบุว่า หลักการ ESG ได้รับการบูรณาการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจของพวกเขาอย่างเต็มรูปแบบแล้ว พวกเขายังเล็งเห็นความสำคัญของความยั่งยืนที่มีต่อการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าและชื่อเสียงของแบรนด์ โดยร้อยละ 44 เชื่อว่ากลยุทธ์ ESG ของพวกเขามีผลกระทบต่อสองด้านนี้มากที่สุด
ยิ่งไปกว่านั้น ซีอีโอร้อยละ 63 กล่าวว่าพวกเขามั่นใจว่าจะบรรลุเป้าหมาย Net zero ได้ภายในปี 2573 สูงกว่าอัตราส่วนเฉลี่ยของทุกภาคธุรกิจที่ร้อยละ 51 อย่างมีนัยสำคัญ ความมั่นใจนี้ค่อนข้างน่าประหลาดใจ เนื่องจากบริษัทในภาคสินค้าอุปโภคและค้าปลีกจำนวนมากตระหนักว่ามีช่องว่างที่สำคัญในแผนงานด้านสภาพภูมิอากาศของตนในการที่จะบรรลุเป้าหมาย Net zero สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นว่า แม้จะต้องเผชิญกับความท้าทายเหล่าต่าง ๆ ผู้นำธุรกิจในภาคส่วนนี้ก็เชื่อมั่นอย่างมากในทีมงานด้านความยั่งยืนที่มีประสบการณ์ของพวกเขา รวมถึงความคืบหน้าของการดำเนินงานในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา
ในด้านความหลากหลายและการรวมเป็นหนึ่ง (Diversity and inclusion: D&I) กว่าครึ่ง (51 เปอร์เซ็นต์) ของซีอีโอภาคสินค้าอุปโภคและค้าปลีกเชื่อว่าความคืบหน้าของงานด้าน D&I นั้นยังคงล่าช้าเกินไป สำหรับภาคธุรกิจที่เติบโตด้วยบุคลากรที่หลากหลายและมีความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างนวัตกรรมและเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย นี่เป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่ามีอีกหลายสิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการ เพื่อปลดล็อกศักยภาพของบุคลากรที่มีความครอบคลุมอย่างแท้จริง
ซีอีโอในภาคสินค้าอุปโภคและค้าปลีกต้องเผชิญหน้ากับความท้าทาย ทั้งจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ ความซับซ้อนเชิงภูมิรัฐศาสตร์ และการนำ Gen AI มาใช้งาน อย่างไรก็ตาม การผสานการดำเนินงานด้านความยั่งยืน การลงทุนกับ Gen AI ในการขายและการตลาด และการให้ความสำคัญกับมาตรการความปลอดภัยทางไซเบอร์ จะช่วยสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน และขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จทางธุรกิจในอนาคต
ช่อทิพย์ วรุตบางกูร
หุ้นส่วน หัวหน้าฝ่าย Consumer & Retail
เคพีเอ็มจี ประเทศไทย
หุ้นส่วน หัวหน้าฝ่าย Consumer & Retail
เคพีเอ็มจี ประเทศไทย
ท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสำรวจซีอีโอในธุรกิจสินค้าอุปโภคและค้าปลีก ปี 2567 ของเคพีเอ็มจี ได้ที่ https://bit.ly/2024ConsumerRetailCEOoutlook
เกี่ยวกับเคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล
เคพีเอ็มจี เป็นเครือข่ายระดับโลกของบริษัทที่ให้บริการสอบบัญชี ภาษี และที่ปรึกษาธุรกิจ เคพีเอ็มจี เป็นแบรนด์ภายใต้บริษัทสมาชิกของ เคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (“เคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล”) ดำเนินการและให้บริการอย่างมืออาชีพ “เคพีเอ็มจี” ใช้เพื่ออ้างถึงบริษัทสมาชิกแต่ละแห่งภายในเครือข่าย เคพีเอ็มจี หรือบริษัทสมาชิกหนึ่งหรือหลายบริษัทรวมกัน เครือข่าย เคพีเอ็มจี ดำเนินงานใน 142 ประเทศ และเขตการปกครอง โดยมีหุ้นส่วนและพนักงานมากกว่า 275,000 คน บริษัท เคพีเอ็มจี แต่ละแห่งเป็นนิติบุคคลที่แตกต่างกัน และแยกจากกันตามกฎหมาย บริษัทสมาชิก เคพีเอ็มจี แต่ละแห่งมีหน้าที่รับผิดชอบและหนี้สินของตนเอง เคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เป็นบริษัทเอกชน ในประเทศอังกฤษ โดยการรับประกัน เคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ให้บริการแก่ลูกค้า ท่านสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงสร้างองค์กรได้ที่ kpmg.com/governance
เกี่ยวกับ เคพีเอ็มจี ประเทศไทย
เคพีเอ็มจี ประเทศไทย มีพนักงานมากกว่า 2,000 คน ซึ่งให้บริการด้านการสอบบัญชีและการให้ความเชื่อมั่นอื่น ภาษี กฎหมายและให้คำปรึกษาทางธุรกิจ เคพีเอ็มจี ประเทศไทยเป็นสมาชิกของ เครือข่ายเคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งเป็นองค์กร เอกชน จำกัด ในอังกฤษ
สำหรับสื่อมวลชน กรุณาติดต่อ:
ณิชากร พัฒนาถาวร
อีเมล: nichakorn2@kpmg.co.th