รายงานของเคพีเอ็มจีเผย ธุรกิจค้าปลีกแบบไร้รอยต่อเป็นมาตรฐานใหม่สำหรับผู้ค้าปลีกแห่งอนาคตในเอเชียแปซิฟิก

รายงาน Navigating the Future of Seamless Commerce in Asia Pacific เผยผู้ค้าปลีกในเอเชียแปซิฟิกขับเคลื่อนประสบการณ์ลูกค้าด้วยเทคโนโลยีตลอดจนความยั่งยืน

Navigating the future of seamless commerce in Asia Pacific

EN | TH

รายงานของเคพีเอ็มจี 'Navigating the Future of Seamless Commerce in Asia Pacific' ระบุวิธีที่ผู้ค้าปลีกในเอเชียแปซิฟิกขับเคลื่อนประสบการณ์ของลูกค้าด้วยเทคโนโลยีตลอดจนความยั่งยืน

กรุงเทพฯ 10 กรกฎาคม 2567 – การเกิดขึ้นของการค้าแบบไร้รอยต่อ ซึ่งมีกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) เป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญในธุรกิจค้าปลีก ทำให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลางความสนใจอย่างแท้จริง นับเป็นการก้าวสู่ยุคใหม่ โดยแนวคิดที่เคยแพร่หลาย เช่น “Multichannel” และ “Omnichannel” มีความสำคัญลดลง และการเน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลางมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น

รายงานฉบับใหม่โดยเคพีเอ็มจี เอเชียแปซิฟิกและ GS1 – 'Navigating the Future of Seamless Commerce in Asia Pacific: How Retailers are Driving Experience Customer Experience, From Technology to Sustainability' – สำรวจว่าธุรกิจและผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกปรับใช้กลยุทธ์การค้าแบบไร้รอยต่อนี้อย่างไรในตลาดและภูมิภาคที่แตกต่างกัน

รายงานตั้งข้อสังเกตว่าการค้าปลีกแบบไร้รอยต่อ ซึ่งรวมถึงความสามารถของแบรนด์ในการรับรู้และบูรณาการเส้นทางของผู้บริโภคตั้งแต่ก่อนจะเป็นลูกค้า จนตัดสินใจซื้อสินค้าหรือใช้บริการ (Customer Journey) ผ่านแพลตฟอร์มและบริการที่หลากหลาย ครั้งหนึ่งเคยเป็นปัจจัยสร้างความแตกต่าง แต่ในปัจจุบันกลายเป็นความคาดหวังพื้นฐานในตลาดส่วนใหญ่ที่ทำการสำรวจ ทำให้กลายเป็นเกณฑ์มาตรฐานใหม่สำหรับผู้ค้าปลีกในอนาคต โดยตลาดคาดหวังให้มีการเชื่อมต่อ โซเชียลมีเดีย นวัตกรรมการจัดส่ง แอป เว็บไซต์ การส่งข้อความอัตโนมัติ และการโต้ตอบทางดิจิทัลอื่นๆ ทั้งหมดนี้เข้ากับร้านค้าที่มีหน้าร้านได้อย่างไร้รอยต่อ


Chortip Varutbangkul

เคพีเอ็มจีเชื่อว่าธุรกิจค้าปลีกกำลังเผชิญกับคลื่นดิจิทัลดิสรัปชั่นระลอกที่ 3 เป็นผลจากการค้าแบบไร้รอยต่อ (Seamless Commerce) ซึ่งก่อนหน้านี้ โดยส่วนใหญ่แล้วร้านค้าออนไลน์และร้านค้าที่มีหน้าร้านจะดำเนินการเป็นอิสระจากกัน แต่การเกิดขึ้นของกลยุทธ์ Omnichannel และการใช้การวิเคราะห์ข้อมูลและ AI ทำให้ผู้ค้าปลีกสามารถเชื่อมช่องทางต่างๆให้สัมพันธ์กัน การค้าแบบไร้รอยต่อ (Seamless Commerce) จึงเป็นการเข้าสู่ระยะใหม่ของการพลิกโฉมธุรกิจค้าปลีก ซึ่งเน้นให้ความสำคัญกับเส้นทางของผู้บริโภค (Customer Journey) เป็นอันดับแรก



ช่อทิพย์ วรุตบางกูร
หัวหน้าฝ่าย Consumer & Retail
เคพีเอ็มจี ประเทศไทย


รายงานได้ทำการสำรวจจากผู้ตอบแบบสอบถามประมาณ 7,000 รายในตลาด 14 แห่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้แก่ จีน ฮ่องกง ไต้หวัน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม โดยรายงานยังรวมข้อมูลการสัมภาษณ์ผู้บริหารอาวุโสระดับ C-suite จากผู้ค้าปลีก แบรนด์ และบริษัทอีคอมเมิร์ซชั้นนำ

ประเด็นสำคัญของรายงานประกอบด้วยแนวโน้มหลัก 6 ประการที่กำลังเปลี่ยนแปลงธุรกิจค้าปลีก โดยผู้ค้าปลีกได้รับความคาดหวังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในการส่งมอบประสบการณ์ค้าปลีกแบบไร้รอยต่อ ผ่านระบบที่เชื่อมโยงและบูรณาการเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค

  • ความหลากหลายที่โดดเด่น – เนื่องจากธุรกิจอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคนี้ขาดแพลตฟอร์มหลักที่เป็นเจ้าตลาด จึงมีการแข่งขันที่รุนแรงระหว่างผู้เล่นแพลตฟอร์มเพื่อแย่งชิงเม็ดเงินของผู้บริโภค ลำดับความสำคัญหลักที่ผู้บริโภคมองหาเมื่อเลือกแพลตฟอร์มในการซื้อสินค้าคือ (1) ผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย และ (2) การจัดส่งที่รวดเร็วและเชื่อถือได้
  • Gen Z เป็นผู้นำสำคัญ – การขายสินค้าผ่านโซเชียลมีเดียได้รับความนิยมในกลุ่ม Gen Z แพลตฟอร์มเช่น TikTok มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ด้วยเทรนด์ต่างๆ ไม่เพียงแต่ในระดับภูมิภาค แต่เป็นระดับสากลที่มาและไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อของกลุ่ม Gen Z ทำให้แบรนด์ต่างๆ ต้องประเมินและทบทวนกลยุทธ์ห่วงโซ่อุปทานของตน
  • ผู้ค้าปลีกปรับใช้ AI – การประยุกต์ใช้ AI ที่แพร่หลายที่สุดคือการเพิ่มความแม่นยำของคำแนะนำผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย แต่ผู้บริโภคก็ยังมีความกังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวและการขาดปฏิสัมพันธ์กับ ‘คน’
  • การชำระเงินดิจิทัลมีความสำคัญมากขึ้น – ลักษณะการใช้งานและความแพร่หลายของการชำระเงินดิจิทัลแตกต่างกันไปในแต่ละตลาด ในขณะที่กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ดิจิทัลกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ และเกาหลีใต้ ยังคงนิยมใช้บัตรเดบิต/เครดิตในการทำธุรกรรมเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่ในจีน Alipay อยู่ในอันดับต้นๆ
  • โปรแกรมสะสมคะแนน (Loyalty Program) ช่วยให้ผู้ค้าปลีกได้รับข้อมูล – ผู้ค้าปลีกเริ่มเข้าใจว่ากลยุทธ์การเข้าถึงผู้บริโภคโดยตรงที่มีประสิทธิภาพต้องอาศัยข้อมูลจำนวนมาก จึงทำให้ผู้ค้าปลีกที่ในอดีตอาจไม่ให้ความสำคัญกับโปรแกรมสะสมคะแนนเพื่อเก็บข้อมูล เริ่มตระหนักถึงมูลค่าของโปรแกรมสะสมคะแนนสำหรับการรวบรวมข้อมูล
  • ความยั่งยืนไม่ใช่เพียงเครื่องมือเสริมในการทำการตลาด แต่เป็นปัจจัยขั้นพื้นฐาน – แบรนด์ต่างๆ จะต้องผสานความหลากหลาย จริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นแกนหลัก นำเสนอประสบการณ์ที่ยั่งยืนโดยไม่เก็บค่าบริการระดับพรีเมียมเพิ่ม นี่คืออนาคตของธุรกิจการค้าที่ขับเคลื่อนโดยคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจและพร้อมจ่ายเพื่อสิ่งแวดล้อม หน่วยงานกำกับดูแลและนักลงทุนก็ขานรับเทรนด์รักษ์โลก แต่แรงกดดันจากผู้บริโภคเสียงดังและสำคัญที่สุด
Asia Pacific at a glance: What does the data say?

ผู้ค้าปลีกที่ต้องการสร้างความเป็นเลิศในการค้าแบบไร้รอยต่อ จะต้องผสานความยั่งยืนเข้ากับโมเดลธุรกิจของตนด้วย ในขณะที่เราก้าวผ่านช่วงกลางทศวรรษ 2020 มีความต้องการที่ชัดเจนในด้านความโปร่งใสของห่วงโซ่อุปทาน อันเป็นผลมาจากความกังวลด้านสิ่งแวดล้อมที่มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ในกลุ่มผู้บริโภครุ่นมิลเลนเนียลและ Gen Z สำหรับผู้บริโภคกลุ่มนี้ การลงมือทำจริงสำคัญกว่าคำพูด โดยคาดหวังว่าแบรนด์ที่พวกเขาสนับสนุนจะไม่เพียงแค่กล่าวถึงความมุ่งมั่นต่อความยั่งยืนเท่านั้น แต่จะปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาต่อลูกค้าอย่างแท้จริงอีกด้วย

แม้ว่าการเติบโตโดยทั่วไปของเศรษฐกิจการค้าปลีกในเอเชียแปซิฟิกจะอยู่ในระดับที่ค่อยๆ เข้าใกล้ระดับก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่การใช้จ่ายของผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะเริ่มชะลอตัวลงในปีนี้ เนื่องจากผู้บริโภครู้สึกถึงผลกระทบของต้นทุนที่สูงขึ้น ตลาดบางแห่งจึงเห็นการเติบโตที่ไม่ชัดเจน ในขณะที่ตลาดอื่นๆ กำลังเผชิญกับแนวโน้มขาลง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นมากยิ่งขึ้นที่ผู้ค้าปลีกจะต้องรู้วิธีดึงดูดผู้บริโภคให้ได้มากขึ้นในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันและในอนาคต เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งการตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่ผู้บริโภคมีการปรับการใช้จ่ายของตน

เกี่ยวกับเคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล

เคพีเอ็มจี เป็นเครือข่ายระดับโลกของบริษัทที่ให้บริการตรวจสอบบัญชี ภาษี และที่ปรึกษาธุรกิจ เคพีเอ็มจี เป็นแบรนด์ภายใต้บริษัทสมาชิกของ เคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (“เคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล”) ดำเนินการและให้บริการอย่างมืออาชีพ “เคพีเอ็มจี” ใช้เพื่ออ้างถึงบริษัทสมาชิกแต่ละแห่งภายในเครือข่าย เคพีเอ็มจี หรือบริษัทสมาชิกหนึ่งหรือหลายบริษัทรวมกัน

เครือข่าย เคพีเอ็มจี ดำเนินงานใน 143 ประเทศ และเขตการปกครอง โดยมีหุ้นส่วนและพนักงานมากกว่า 273,000 คน

บริษัท เคพีเอ็มจี แต่ละแห่งเป็นนิติบุคคลที่แตกต่างกัน และแยกจากกันตามกฎหมาย บริษัทสมาชิก เคพีเอ็มจี แต่ละแห่งมีหน้าที่รับผิดชอบและหนี้สินของตนเอง

เคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เป็นบริษัทเอกชน ในประเทศอังกฤษ โดยการรับประกัน เคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ให้บริการแก่ลูกค้า
ท่านสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงสร้างองค์กรได้ที่ kpmg.com/governance

เกี่ยวกับ เคพีเอ็มจี ประเทศไทย

เคพีเอ็มจี ประเทศไทย มีพนักงานมากกว่า 2,000 คน ซึ่งให้บริการด้านการสอบบัญชีและการให้ความเชื่อมั่นอื่น ภาษี กฎหมายและให้คำปรึกษาทางธุรกิจ เคพีเอ็มจี ประเทศไทยเป็นสมาชิกของ เครือข่ายเคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งเป็นองค์กร เอกชน จำกัด ในอังกฤษ

สำหรับสื่อมวลชน กรุณาติดต่อ:

กัมปนาท อินทร์ด้วง
อีเมล: kampanati@kpmg.co.th