ซีอีโอทั่วโลกกำลังเผชิญกับความท้าทายหลายประการ โดยเฉพาะแรงกดดันจากความเสี่ยงภูมิศาสตร์การเมือง แต่ยังคงมองแนวโน้มด้านบวกในอีก 3 ปีข้างหน้า

ซีอีโอองค์กรชั้นนำทั่วโลกเห็นว่าภูมิศาสตร์การเมืองและความไม่แน่นอนทางการเมืองกลายเป็นประเด็นความเสี่ยงครั้งใหญ่ที่ผู้บริหารต่างกังวลในปีนี้

การเมืองและความไม่แน่นอนทางการเมืองกลายเป็นประเด็นความเสี่ยงครั้งใหญ่ที่ผู้บริหารต่างกังวล

EN | TH

  • ภูมิศาสตร์การเมืองและความไม่แน่นอนทางการเมืองจัดเป็นประเด็นอันดับหนึ่งด้านความเสี่ยงต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ แม้ไม่ได้ติด 5 อันดับแรกในปีที่ผ่านมา
  • ซีอีโอกว่าร้อยละ 87 กำลังพิจารณาการให้รางวัล ขึ้นเงินเดือน หรือเลื่อนตำแหน่ง ให้กับพนักงานที่เข้ามาทำงานในออฟฟิศ
  • ซีอีโอกว่าร้อยละ 68 เห็นว่า ESG ในปัจจุบันของบริษัทตนเอง ยังไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ดีพอสำหรับการสอบทานจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือผู้ถือหุ้น
  • ซีอีโอกว่าร้อยละ 57 กล่าวถึงความกังวลในด้านจริยธรรมเป็นอันดับหนึ่ง หากมีการนำ Generative AI มาใช้ 

กรุงเทพฯ 16 ตุลาคม 2566 – จากผลงานวิจัยของเคพีเอ็มจีพบว่า ซีอีโอองค์กรชั้นนำทั่วโลกกว่า 1,300 คน เห็นว่าภูมิศาสตร์การเมืองและความไม่แน่นอนทางการเมืองที่เริ่มขยายวงกว้างได้กลายเป็นความเสี่ยงครั้งใหญ่ต่อการเติบโตของภาคธุรกิจ

งานวิจัย CEO Outlook ประจำปี 2566 โดยเคพีเอ็มจี พบว่าภูมิศาสตร์การเมืองและความไม่แน่นอนทางการเมืองกลายเป็นประเด็นความเสี่ยงครั้งใหญ่ที่ผู้บริหารระดับสูงต่างมีความกังวลในปีนี้ แม้ความกังวลด้านนี้ไม่ได้ติดผลวิจัย 5 อันดับแรกในปี 2565 ที่ผ่านมา

สำหรับความเชื่อมั่นต่อแนวโน้มเศรษฐกิจโลกในอีก 3 ปีข้างหน้า ยังคงมีมุมมองในเชิงบวกเหมือนปีที่ผ่านมา (ร้อยละ 73 เทียบกับร้อยละ 71 ในปีที่ผ่านมา) ซีอีโอเหล่านี้มีมุมมองในประเด็นด้านความเสี่ยงต่อธุรกิจที่แตกต่างกันออกไป โดยซีอีโอมากกว่า 3 ใน 4 (ร้อยละ 77) กล่าวว่า อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นเป็นความเสี่ยงที่อาจส่งผลให้เกิดเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก ในขณะเดียวกันซีอีโอจำนวน 3 ใน 4 (ร้อยละ 77)  เชื่อว่าแรงกดดันด้านค่าครองชีพที่สูงขึ้นมีแนวโน้มจะส่งผลเสียต่อการเติบโตของธุรกิจในอีก 3 ปีข้างหน้า

กระแสการเมืองโลกที่ผันผวนอย่างต่อเนื่อง พลวัตทางการค้า และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ส่งผลให้ซีอีโอต้องหันมาประเมินลำดับความสำคัญในด้านการจัดการกลยุทธ์ธุรกิจกันใหม่ และต้องพร้อมปรับตัวเพื่อรับมือกับอิทธิพลทางการเมืองในระดับโลกที่จะซับซ้อนมากยิ่งขึ้น

ความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นกับภาคธุรกิจจะสร้างโอกาสให้กับองค์กรต่างๆ ได้หันมาปรับตัวและเสริมสร้างกลยุทธ์ของตนเองให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ธุรกิจจำเป็นต้องมีความสามารถในการปรับตัว รู้จักปรับเปลี่ยนด้านระบบห่วงโซ่อุปทาน และกระจายความเสี่ยง โดยแนวโน้มรูปแบบการทำงานในอนาคตจะเป็น Hybrid และเป็นวัฒนธรรมการทำงานร่วมกันเป็นทีม

นอกจากนี้ องค์กรต่างๆ ควรนำแนวคิดด้าน ESG มาใช้เป็นตัวขับเคลื่อนในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ และคอยติดตามระเบียบหรือข้อบังคับที่มีการเปลี่ยนแปลง ส่วนด้านจริยธรรมเรื่อง AI องค์กรต่างๆ จำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบโดยคำนึงถึงความสำคัญด้านความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน รักษาข้อมูลให้ปลอดภัย และปฏิบัติตามมาตราฐานข้อบังคับให้ครบถ้วน เพื่อสร้างมูลค่าสูงสุดให้เกิดกับธุรกิจและรักษาไว้ซึ่งจริยธรรมอันดีงาม

ในงานวิจัยนี้ จำนวนซีอีโอกว่าร้อยละ 73 แสดงความเชื่อมั่นด้านบวกต่อเศรษฐกิจในอีก 3 ปีข้างหน้า ดังนั้นองค์กรต้องให้ความสำคัญในการยกระดับการพัฒนาทักษะบุคลากรอย่างต่อเนื่อง เพราะทรัพยากรมนุษย์ถือเป็นทรัพย์สินที่มีคุณค่าที่สุดของทุกธุรกิจ


เจริญ ผู้สัมฤทธิ์เลิศ
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
เคพีเอ็มจี ประเทศไทย เมียนมาร์ และลาว


เกี่ยวกับเคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล

เคพีเอ็มจี เป็นเครือข่ายระดับโลกของบริษัทที่ให้บริการตรวจสอบบัญชี ภาษี และที่ปรึกษาธุรกิจ เคพีเอ็มจี เป็นแบรนด์ภายใต้บริษัทสมาชิกของ เคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (“เคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล”) ดำเนินการและให้บริการอย่างมืออาชีพ “เคพีเอ็มจี” ใช้เพื่ออ้างถึงบริษัทสมาชิกแต่ละแห่งภายในเครือข่าย เคพีเอ็มจี หรือบริษัทสมาชิกหนึ่งหรือหลายบริษัทรวมกัน เครือข่าย เคพีเอ็มจี ดำเนินงานใน 143 ประเทศ และเขตการปกครอง โดยมีหุ้นส่วนและพนักงานมากกว่า 265,000 คน บริษัท เคพีเอ็มจี แต่ละแห่งเป็นนิติบุคคลที่แตกต่างกัน และแยกจากกันตามกฎหมาย บริษัทสมาชิก เคพีเอ็มจี แต่ละแห่งมีหน้าที่รับผิดชอบและหนี้สินของตนเอง  เคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เป็นบริษัทเอกชน ในประเทศอังกฤษ โดยการรับประกัน เคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ให้บริการแก่ลูกค้า ท่านสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงสร้างองค์กรได้ที่  kpmg.com/governance

เกี่ยวกับ เคพีเอ็มจี ประเทศไทย

เคพีเอ็มจี ประเทศไทย มีพนักงานมากกว่า 2,000 คน ซึ่งให้บริการด้านการสอบบัญชีและการให้ความเชื่อมั่นอื่น ภาษี กฎหมายและให้คำปรึกษาทางธุรกิจ เคพีเอ็มจี ประเทศไทยเป็นสมาชิกของ เครือข่ายเคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งเป็นองค์กร เอกชน จำกัด ในอังกฤษ

สำหรับสื่อมวลชน กรุณาติดต่อ:

นฤชา ภูติธนารักษ์
อีเมล: naruecha1@kpmg.co.th