ซีอีโอในเอเชียแปซิฟิกกังวลความเสี่ยงห่วงโซ่อุปทาน ในขณะที่ความเชื่อมั่นซีอีโอทั่วโลกกลับสู่ระดับก่อนโควิด-19
เร่งเปิดตัวแผนควบรวมกิจการเชิงรุกเพื่อคว้าโอกาสทางการตลาด
เร่งเปิดตัวแผนควบรวมกิจการเชิงรุกเพื่อคว้าโอกาสทางการตลาด
- ผู้บริหารระดับโลกจำนวน 8 ใน 10 พร้อมเข้าซื้อกิจการในอีกสามปีข้างหน้า
- ผู้นำธุรกิจเชื่อว่าจำเป็นต้องมีมาตรการกระตุ้นจากภาครัฐเพื่อบรรลุเป้าหมายการลดคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์
- ซีอีโอจำนวน 3 ใน 4 เชื่อว่า แรงกดดันต่อผู้ให้บริการด้านการเงินสาธารณะในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้เพิ่มความเร่งด่วนของความร่วมมือระดับพหุภาคีในระบบภาษีทั่วโลก
กรุงเทพฯ กันยายน 2564 – ซีอีโอธุรกิจยักษ์ใหญ่ของโลกมองแนวโน้มธุรกิจของตนในเชิงบวก และแม้ว่าโควิดสายพันธุ์เดลต้าจะทำให้ "การกลับสู่ภาวะปกติ" ช้าลง ความเชื่อมั่นของซีอีโอเหล่านี้ต่อเศรษฐกิจโลกได้กลับสู่ระดับที่ไม่เคยเห็นมาก่อนตั้งแต่โควิด-19 เริ่มระบาด การสำรวจ CEO Outlook ของเคพีเอ็มจี ในปี 2564 ซึ่งสอบถามซีอีโอทั่วโลกมากกว่า 1,300 คน เกี่ยวกับกลยุทธ์และแนวโน้มธุรกิจในช่วง 3 ปี พบว่าผู้นำร้อยละ 60 มีความมั่นใจในแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในช่วง 3 ปีข้างหน้า (เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 42 ในผลการสำรวจ Pulse survey ของเดือนมกราคม/กุมภาพันธ์)
โอกาสที่เศรษฐกิจโลกจะแข็งแกร่งขึ้น กระตุ้นให้ซีอีโอลงทุนในการขยายและเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ โดยผู้บริหารระดับสูงร้อยละ 69 ระบุว่าการเติบโตจากภายนอก (Inorganic growth) เช่น การร่วมทุน การควบรวมกิจการ และการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ เป็นกลยุทธ์หลักในการเติบโตขององค์กร ผู้นำระดับโลกส่วนใหญ่ (ร้อยละ 87) กล่าวว่า ต้องการเข้าซื้อกิจการในอีก 3 ปีข้างหน้าเพื่อช่วยให้ธุรกิจเติบโตและเปลี่ยนแปลง
การสำรวจพบว่าซีอีโอร้อยละ 30 วางแผนที่จะลงทุนมากกว่าร้อยละ 10 ของรายได้เพื่อมาตรการและโครงการด้านความยั่งยืนในช่วง 3 ปีข้างหน้า
ผลการสำรวจที่สำคัญ
การบรรลุเป้าหมายการลดคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ด้วยการสนับสนุนจากภาครัฐ
ท่ามกลางความท้าทายด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมที่โลกกำลังเผชิญ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกำลังสร้างแรงกดดันมหาศาลต่อธุรกิจต่างๆ ให้จัดการกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศและสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม ด้วยเหตุนี้ ผู้นำธุรกิจกว่าหนึ่งในสี่ (ร้อยละ 27) จึงมีความกังวลว่าหากไม่สามารถปฏิบัติตามความคาดหวังด้านการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ จะส่งผลให้ตลาดไม่ลงทุนในธุรกิจของตน ซีอีโอกว่าครึ่ง (ร้อยละ 58) กล่าวว่าตนกำลังเผชิญกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (เช่น นักลงทุน หน่วยงานกำกับดูแล และลูกค้า) เพื่อให้มีการรายงานเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็น ESG
ผู้บริหารระดับโลกจำนวนสามในสี่ (ร้อยละ 77) เชื่อว่าจำเป็นต้องมีมาตรการกระตุ้นจากภาครัฐเพื่อให้ภาคธุรกิจบรรลุการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ นอกจากนี้ ซีอีโอทั่วโลกจำนวนสามในสี่ (ร้อยละ 75) ระบุว่าการประชุมนานาชาติขององค์การสหประชาชาติ (COP26) เป็นช่วงเวลาสำคัญในการเพิ่มความเร่งด่วนของวาระการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ
ผู้นำระดับโลกมากกว่าแปดในสิบ (ร้อยละ 86) ระบุว่า จุดมุ่งหมายขององค์กรของตนจะกำหนดกลยุทธ์การจัดสรรทุนและกลยุทธ์การเติบโตจากภายนอก ผลการวิจัยพบว่าจุดมุ่งหมายขององค์กร (Corporate purpose) ซึ่งเป็นสิ่งที่บริษัทยึดมั่น และส่งผลเชิงบวกต่อชุมชนและโลก ได้ขับเคลื่อนซีอีโอร้อยละ 74 ให้ดำเนินการเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (ลูกค้า พนักงาน นักลงทุน และชุมชน) นอกจากนี้จำนวนซีอีโอที่กล่าวว่าวัตถุประสงค์หลักของตนคือการนำเอาจุดมุ่งหมายขององค์กรมาใช้ในการตัดสินใจทางธุรกิจเพื่อสร้างมูลค่าระยะยาวสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้เพิ่มขึ้น 10 ลำดับตั้งแต่ต้นปี 2563 (ร้อยละ 64)
จุดสนใจเปลี่ยนไปยังความเสี่ยงด้านการปฏิบัติการและสิ่งแวดล้อม
เมื่อพิจารณาถึงความเสี่ยงด้านการเติบโตในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ผู้บริหารระดับสูงมองว่า 3 สิ่งที่เป็นความเสี่ยงสูงสุด ได้แก่ ห่วงโซ่อุปทาน ความปลอดภัยทางไซเบอร์ และการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ซีอีโอทั่วโลกร้อยละ 56 กล่าวว่า ห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจของตนอยู่ภายใต้สภาวะตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19
ตาราง 1: ความเสี่ยงสูงสุดต่อการเติบโตในช่วง 3 ปีข้างหน้า
2021 CEO Outlook (ก.ค./ส.ค. 2564) | 2020 CEO Outlook pulse (ก.ค./ส.ค. 2563) | ||
ความเสี่ยงต่อการเติบโต |
ลำดับ | ความเสี่ยงต่อการเติบโต | ลำดับ |
ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ | #1 | ความเสี่ยงด้านทาเลนท์ | #1 |
ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม/การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ |
#1 | ความเสี่ยงด้านห่วงโซ่อุปทาน | #2 |
ความเสี่ยงด้านห่วงโซ่อุปทาน | #1 | ความเสี่ยงด้านการกีดกันทางการค้า | #3 |
ความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่/ดิสรัปชัน | #2 | ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม/การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ | #4 |
ความเสี่ยงด้านกฎระเบียบ | #2 | ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ | #5 |
ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติการ | #2 | ความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่/ดิสรัปชัน | #6 |
ทัศนคติต่ออนาคตของการทำงานที่เปลี่ยนไป
ปัจจุบัน ซีอีโอเพียงร้อยละ 21 กล่าวว่า กำลังวางแผนที่จะลดขนาดหรือได้ทำการลดขนาดพื้นที่สำนักงานไปแล้ว นับเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมากจากเดือนสิงหาคม 2563 ซึ่งเป็นจุดสูงสุดของโควิด-19 ระลอกแรก และในขณะนั้น ผู้นำระดับโลกร้อยละ 69 กล่าวว่า มีการวางแผนเพื่อลดขนาดพื้นที่ที่องค์กรใช้ในการดำเนินการ
ซีอีโอมุ่งเน้นการเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับพนักงานแทน โดยร้อยละ 51 (เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 14 ในการสำรวจ Pulse survey เดือนมกราคม/กุมภาพันธ์) ที่ต้องการลงทุนในพื้นที่ใช้ร่วมกันในสำนักงาน นอกจากนี้ ผู้บริหารระดับโลกร้อยละ 37 ยังใช้รูปแบบการทำงานแบบไฮบริดกับพนักงานในองค์กร โดยที่พนักงานส่วนใหญ่ทำงานทางไกล 2-3 วันต่อสัปดาห์
การปฏิรูปภาษีระหว่างประเทศที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเป็นจุดสนใจที่สำคัญสำหรับซีอีโอ
ซีอีโอจำนวนสามในสี่ (ร้อยละ 75) เชื่อว่าแรงกดดันต่อผู้ให้บริการด้านการเงินสาธารณะอันเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้เพิ่มความเร่งด่วนให้แก่ความร่วมมือระดับพหุภาคีในระบบภาษีทั่วโลก ในขณะเดียวกัน ผู้บริหารระดับสูงร้อยละ 77 เห็นพ้องต้องกันว่าข้อเสนอด้านระบบภาษีขั้นต่ำทั่วโลกเป็นที่น่ากังวลอย่างยิ่งต่อเป้าหมายการเติบโตขององค์กรของตน
นอกจากนี้ ผู้บริหารระดับสูงมีความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านกฎระเบียบและภาษีมากกว่าช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 (ตารางอ้างอิงที่ 1 ด้านบน)
ผลการวิจัยพบว่า ซีอีโอร้อยละ 74 ตระหนักถึงความเชื่อมโยงที่แข็งแกร่งระหว่างความไว้วางใจของสาธารณชนต่อธุรกิจของตน และวิธีการทางภาษีที่สอดคล้องกับค่านิยมขององค์กร ในขณะที่ธุรกิจตั้งเป้าที่จะฟื้นตัวให้ดีขึ้น ซีอีโอส่วนใหญ่ (ร้อยละ 69) รู้สึกกดดันมากขึ้นในการรายงานภาษีเพื่อประโยชน์สาธารณะซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความรับผิดชอบต่อ ESG ที่กว้างขึ้น
ENDS
ผลการสำรวจฉบับสมบูรณ์ของ KPMG CEO Outlook จะรวมการสัมภาษณ์เชิงคุณภาพกับซีอีโอของ Edward Jones, Greater Toronto Airports Authority, Mitsubishi UFJ Financial Group และ Snowflake
ท่านสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแบบสำรวจ ได้ที่ home.kpmg/CEOoutlook และยังสามารถติดตาม @KPMG บน LinkedIn และ Twitter สำหรับการอัปเดต และการสนทนาด้วยแฮชแทก #CEOoutlook
บรรณาธิการ
เกี่ยวกับการสำรวจ KPMG CEO Outlook
KPMG CEO Outlook นำเสนอมุมมองเชิงลึกในระยะเวลาสามปีจากผู้บริหารทั่วโลกหลายพันคนเกี่ยวกับการเติบโตขององค์กรและเศรษฐกิจ
2021 Outlook CEO สอบถามซีอีโอจำนวน 1,325 คนจากบริษัทที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก เพื่อให้มุมมองเกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจและธุรกิจในระยะเวลา 3 ปี และผลกระทบของโควิด-19 ที่ยังคงดำเนินอยู่ ซึ่งจะส่งผลต่ออนาคตขององค์กร ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดมีรายได้ต่อปีมากกว่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐ และหนึ่งในสามของบริษัทที่ทำการสำรวจมีรายได้ต่อปีมากกว่า 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
เกี่ยวกับเคพีเอ็มจี
เคพีเอ็มจี เป็นเครือข่ายระดับโลกของบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการสอบบัญชีและการให้ความเชื่อมั่นอื่น ภาษี กฎหมาย และให้คำปรึกษาทางธุรกิจ เราดำเนินธุรกิจใน 146 ประเทศ และมีพนักงานมากกว่า 227,000 คนในบริษัทเคพีเอ็มจีทั่วโลก เคพีเอ็มจีในแต่ละประเทศเป็นองค์กรที่มีการดำเนินการเป็นเอกเทศ ในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก เคพีเอ็มจีได้ให้บริการใน 20 ประเทศและเขตการปกครอง โดยมีผู้เชี่ยวชาญและพนักงานรวม 50,000 ราย
เกี่ยวกับ เคพีเอ็มจี ประเทศไทย
เคพีเอ็มจี ประเทศไทย มีพนักงานมากกว่า 2,000 คน ซึ่งให้บริการด้านการสอบบัญชีและการให้ความเชื่อมั่นอื่น ภาษี กฎหมายและให้คำปรึกษาทางธุรกิจ เคพีเอ็มจี ประเทศไทยเป็นสมาชิกของ เครือข่ายเคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล
สำหรับสื่อมวลชน กรุณาติดต่อ:
พลอย พยัฆวิเชียร
อีเมล: ploi@kpmg.co.th
Connect with us
- Find office locations kpmg.findOfficeLocations
- kpmg.emailUs
- Social media @ KPMG kpmg.socialMedia