รายได้จากการออกอากาศ ผลักดันการเติบโตของสโมสรฟุตบอลระดับท็อปของยุโรป

รายได้จากการออกอากาศผลักดันการเติบโตของสโมสรฟุตบอลยุโรป

รายงาน KPMG Football Benchmark’s European Champions Report

1000

กรุงเทพฯ, 15 มกราคม 2563 : รายงาน ‘The European Champions Report 2020’ ของทีม Football Benchmark จากเคพีเอ็มจี พบว่าสโมสรฟุตบอลในยุโรปยังคงมีรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งมีปัจจัยหลักมาจากรายได้จากการออกอากาศ โดยเฉพาะรายได้การออกอากาศของ ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก (UCL) ที่ได้เริ่มออกอากาศในรอบปี 2018/19 รายงานนี้เป็นรายงานฉบับที่ 4 และได้มีการสำรวจและเปรียบเทียบปัจจัยสำเร็จทางธุรกิจของทีมแช็มป์จาก 8 ลีกที่สำคัญๆ ของยุโรปในการแข่งขันฤดูกาล 2018/19 ซึ่งคือทีม อาเอฟเซ อายักซ์, สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา, สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิก, สปอร์ลิชบัวอีไบฟีกา (หรือเบนฟิกา), กาลาทาซาไรสปอร์คูลือบือ (Galatasaray), สโมสรฟุตบอลยูเวนตุส, สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี และ สโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง

ปีนี้ 6 ใน 8 ทีมที่กล่าวมาสามารถรักษาแชมป์ในประเทศของตัวเองได้ ซึ่งต่างจากปีที่แล้วที่มีเพียง 2 ทีมเท่านั้นที่รักษาแชมป์ไว้ได้เป็นสมัยที่ 2 ติดกัน โดยในฤดูกาล 2018/19 ครั้งนี้มี 2 ทีมแชมป์หน้าใหม่ ได้แก่ อาเอฟเซ อายักซ์ ที่ได้แชมป์ลีกเอเรอดีวีซี ของประเทศเนเธอร์แลนด์ หลังจากพลาดมา 4 ปี และสปอร์ลิชบัวอีไบฟีกา ที่ได้แชมป์ลีกโปรตุเกสเป็นครั้งที่ 5 ใน 6 ปีที่ผ่านมา ซึ่งสามารถยึดตำแหน่งแชมป์คืนมาได้จากผู้ชนะปีที่แล้วคือสโมสรฟุตบอลโปร์ตู

KPMG Football Benchmark’s European Champions Report 2020

สรุปรายละเอียดสำคัญ

  • สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนามีรายได้จากการดำเนินการมากที่สุดในทั้ง 8 ทีม คือ 839.5 ล้านยูโร ทีมที่มีรายได้รองลงมาคือสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง, สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิก[1] และสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี
  •  อาเอฟเซ อายักซ์ มีรายได้จากการดำเนินการเพิ่มขึ้นสูงที่สุดในแต่ละปี (+117%) ตามด้วยสปอร์ลิชบัวอีไบฟีกา (หรือเบนฟิกา) (+36%)
  • นอกจากสโมสรฟุตบอลยูเวนตุสแล้ว ทีมอื่นๆ มีรายได้จากการออกอากาศเป็นรายได้หลักของรายได้รวมทั้งหมดที่เพิ่มขึ้น ซึ่งต่างจากฤดูกาลก่อนหน้า ที่ปัจจัยการเติบโตของรายได้มาจากค่าโฆษณาเป็นหลัก
  • ทุกทีมมีกำไรหลังจากหักภาษี ยกเว้นสโมสรฟุตบอลยูเวนตุส ซึ่งขาดทุนเพิ่มขึ้น 20.7 ล้านยูโร เนื่องมาจากค่าจ้างนักเตะที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการเข้ามาร่วมทีมของนักเตะ คริสเตียโน โรนัลโด
  • แชมป์ทั้ง 8 ทีมสามารถควบคุมสัดส่วนค่าจ้างนักเตะให้เป็น 70% ของรายได้จากการดำเนินการทั้งหมด ซึ่งเป็นตัวเลขที่ถูกควบคุมและกำกับดูแลโดยยูฟ่า

ทั้ง 8 ทีมมีรายได้รวมเพิ่มขึ้น ซึ่งสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาเป็นแชมป์ด้านรายได้ โดยทางสโมสรรายงานว่ามีรายได้จากการดำเนินการทั้งหมดถึง 839.5 ล้านยูโร และเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สโมสรที่ชนะคู่แข่งตลอดกาลอย่างสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริด และสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ถึงแม้ว่าทั้งสองทีมดังกล่าวจะไม่ได้ถูกนำมาวิเคราะห์ในรายงานฉบับนี้ด้วย สโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็งมีรายได้มากสุดเป็นอันดับสอง (636 ล้านยูโร และมีการเติบโต 17% ต่อปี) ในขณะเดียวกันอาเอฟเซ อายักซ์ มีรายได้จากการดำเนินการเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ เพิ่มขึ้น 117% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการทำผลงานที่ดีในรายการยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก

“เทรนด์ที่ชัดที่สุดของปีนี้คือการที่รายได้จากการออกอากาศกลายเป็นปัจจัยหลักในการเพิ่มรายได้ให้กับ 7 ใน 8 ทีมที่เราวิเคราะห์ ซึ่งต่างจากฤดูกาลที่แล้วที่ปัจจัยที่ผลักดันการเติบโตคือรายได้จากโฆษณา” แอนเดรีย ซาร์โตรี หัวหน้าฝ่ายกีฬา ของเคพีเอ็มจี และผู้เสนอรายงานครั้งนี้กล่าว

รายได้จากการออกอากาศที่เพิ่มขึ้นในฤดูกาลนี้ เนื่องมาจากการจัดสรรรายได้ออกอากาศของ UCL (distribution cycle) ที่เริ่มในฤดูกาล 2018/19 ที่สูงขึ้น Distribution cycle ระยะเวลา 3 ปีมีมูลค่ารวม 1,976 ล้านยูโร (เพิ่มขึ้น 564 ล้านยูโรต่อปีเมื่อเทียบกับ distribution cycle ก่อน) การจัดสรรรายได้ของ UCL จึงเป็นปัจจัยหลักในการเติบโตของทั้ง 8 สโมสร ตัวอย่างเช่น แม้ว่าสโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกจะลงแข่งน้อยกว่าปีที่แล้วก็ตาม แต่เนื่องจากการตกรอบเร็วขึ้น ทำให้สโมสารได้รับรายได้จาก UEFA มากกว่าฤดูกาลที่แล้วส่วนสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีได้รับเงินจาก UEFA เพิ่มขึ้น 35 ล้านยูโร ถึงแม้ว่าจะทำผลงานได้เท่ากับฤดูกาลที่แล้ว ส่วนผลงานที่ยอดเยี่ยมของอาเอฟเซ อายักซ์ทำให้ได้รายได้จาก UEFA ไปถึง 78 ล้านยูโร ส่งผลให้รายได้จากการดำเนินการของสโมสรเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว มีเพียงสโมสรเดียวที่เป็นข้อยกเว้นคือสโมสรฟุตบอลยูเวนตุส ซึ่งมีรายได้จากการโฆษณาเพิ่มขึ้น 30% (นับเป็นการเติบโตสูงสุดในบรรดาทั้ง 8 สโมสร) เนื่องมาจากการเข้าร่วมสโมสรของคริสเตียโน โรนัลโด ประกอบกับการเติบโตเพียงเล็กน้อยของรายได้จากการออกอากาศ ซึ่งมีส่วนมาจากรายได้จากการออกอากาศในประเทศที่น้อยลงเพราะการปรับการจัดสรรรายได้ใหม่ของกัลโชเซเรียอา

ผลสืบเนื่องคือทำให้การออกอากาศกลายเป็นรายได้ส่วนที่มากที่สุดของการดำเนินการของ 5 ใน 8 สโมสร ซึ่งในฤดุกาลก่อนหน้ามีเพียง 2 สโมสรเท่านั้นที่เป็นเช่นนี้ ส่วนรายได้จากโฆษณาเป็นรายได้ส่วนที่มากที่สุดสำหรับ 3 สโมสร เมื่อเทียบกับ 6 สโมสรในปีก่อนหน้า 3 สโมสรที่มีรายได้จากการโฆษณาสูงสุดคือ สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิก และสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง ซึ่งก็เป็นเพียง 3 สโมสรที่มีรายได้จากการโฆษณามากกว่า 300 ล้านยูโร

สโมสร 4 แห่งมีอัตราส่วนการว่าจ้างต่อรายได้จากการดำเนินการเพิ่มขึ้นเล็กน้อย อย่างไรก็ตามทุกสโมสรยังคงสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายการว่าจ้างนักเตะให้อยู่ในอัตราส่วน 70% ที่ทาง UEFA กำหนดไว้และมีมาตรการควบคุมอยู่ โดยเฉพาะสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาที่สามารถลดอัตราส่วนดังกล่าวลงมาให้เหลือ 69% จาก 81% ในฤดูกาลก่อนหน้า แม้ว่าทางสโมสรจะยังคงมีค่าใช่จ่ายในการว่าจ้างสูงที่สุดในทุกสโมสรก็ตาม

สิ่งที่น่าสนใจคือทุกสโมสรรายงานว่ามีกำไรหลังหักภาษี ยกเว้นสโมสรฟุตบอลยูเวนตุส ทางสโมสรขาดทุนเพิ่มขึ้น 20.7 ล้านยูโร ซึ่งเป็นผลจากค่าจ้างนักเตะที่สูงขึ้นจากนโยบายการเพิ่มขีดความสามารถของทีม โดยเฉพาะการซื้อคริสเตียโน โรนัลโด เข้ามาในสโมสร

ค่าเฉลี่ยค่าตัวนักเตะทั้งหมดของสโมสรแชมป์ทั้ง 8 อยู่ที่ 745 ล้านยูโร อย่างไรก็ตามสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาและสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีมีค่าตัวนักเตะมากกว่ากาลาทาซาไร สปอร์ คูลือบือ (Galatasaray) ถึง 10 เท่า “แม้ว่าค่าย้ายตัวผู้เล่นดูเหมือนจะเพิ่มขึ้นตลอดเวลา แต่มูลค่ารวมของนักเตะในแต่ละสโมสรทั้ง 8 มีการลดลงเล็กน้อยในปีที่ผ่านมา คือเฉลี่ยแล้วลดลง 30 ล้านยูโร ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามูลค่านักเตะระดับแนวหน้ายังไม่ได้เพิ่มขึ้นสูงมากนักใน 12 เดือนที่ผ่านมา” แอนเดรีย ซาร์โตรี กล่าวสรุป

 

ข้อมูลเพิ่มเติม: footballbenchmark.com

อ้างอิงจากข้อมูลงบการเงินของ FC Bayern München AG เนื่องจากข้อมูลงบการเงินรวมยังไม่ออก ณ วันที่ตีพิมพ์รายงานฉบับนี้

เกี่ยวกับเคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล

เคพีเอ็มจี เป็นเครือข่ายระดับโลกของบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการสอบบัญชี ภาษี และการให้คำปรึกษา เราดำเนินงานใน 147 ประเทศ และมีพนักงานมากกว่า 219,000 คน ที่ทำงานร่วมกันในบริษัทสมาชิกทั่วโลก บริษัทที่เป็นสมาชิกเครือข่ายเคพีเอ็มจีจะถือเป็นสมาชิกของเคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล โคออเปอเรทีฟ (KPMG International) เคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล เป็นบริษัทสัญชาติสวิส ทั้งนี้ แต่ละบริษัทที่เป็นสมาชิกเคพีเอ็มจีเป็นนิติบุคคลที่แยกต่างหากจากกัน และมีอิสระตามกฎหมาย

เกี่ยวกับ เคพีเอ็มจี ประเทศไทย

เคพีเอ็มจี ประเทศไทย เป็นสมาชิกของ เคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล ที่มีเครือข่ายทั่วโลก ซึ่งให้บริการด้านตรวจสอบบัญชี ภาษีและกฎหมาย และให้คำปรึกษาทางธุรกิจ 

สำหรับสื่อมวลชน กรุณาติดต่อ:

พลอย พยัฆวิเชียร
เบอร์โทรศัพท์: 02 677 2034
อีเมล: ploi@kpmg.co.th

Some or all of the services described herein may not be permissible for KPMG audit clients and their affiliates or related entities.

 

© 2024 KPMG Phoomchai Holdings Co., Ltd., a Thai limited liability company and a member firm of the KPMG global organization of independent member firms affiliated with KPMG International Limited, a private English company limited by guarantee. All rights reserved.

For more detail about the structure of the KPMG global organization please visit https://kpmg.com/governance.

Connect with us