ประเทศไทยกับอายุประชากรที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ความต้องการแรงงานด้านการดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้น
ความต้องการแรงงานด้านการดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้น
การดูแลสุขภาพ (healthcare) เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยคาดว่ามีมูลค่ารวมมากกว่า 9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลกคิดเป็นมูลค่าเฉลี่ยประมาณร้อยละ 10 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในแต่ละประเทศ
28 มีนาคม 2562 – การดูแลสุขภาพ (healthcare) เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยคาดว่ามีมูลค่ารวมมากกว่า 9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลกคิดเป็นมูลค่าเฉลี่ยประมาณร้อยละ 10 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในแต่ละประเทศ อย่างไรก็ตามอายุขัยเฉลี่ยของประชากรที่สูงขึ้นและจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้นทำให้หลายๆ ประเทศต้องคำนึงถึงความสามารถในการรองรับด้านการดูแลสุขภาพ และจำนวนแรงงานในอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพที่สามารถรองรับประชากรของประเทศได้ โดยเฉพาะในบรรดาประเทศที่กำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (aging society)
ประธานฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานของเคพีเอ็มจี ดร. มาร์ค บริตเนล เตือนว่าจะมีการขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพ ถึง 18 ล้านคนภายในปีพ.ศ. 2573 ซึ่งจะทำให้เกิดผลเสียที่ร้ายแรงต่ออุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพทั่วโลก ทั้งนี้บุคลากรดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุไม่พอ และถ้าไม่มีการแก้ไขโดยเร็ว จะทำให้เกิดผลกระทบที่ร้ายแรงในวงกว้างทั่วโลก
จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นและจำนวนของเด็กและเยาวชนที่ลดลงจะทำให้แต่ละประเทศเผชิญกับภาระและความท้าทายในการดูแลสุขภาพในการรองรับประชากร โดยเฉพาะผู้สูงอายุ
ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2557 ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยมีจำนวนผู้สูงอายุมากกว่า 10 ล้านคน[1] หรือคิดเป็นร้อยละ 10 ของจำนวนประชากร ในขณะเดียวกันจำนวนเด็กที่อายุต่ำกว่า 15 ปี คิดเป็นเพียงร้อยละ 18 ของประชากรทั้งหมด และอัตรานี้ยังคงลดลง ร้อยละ 2 ในแต่ละปี
ประเทศไทยได้ถูกคาดคะเนว่าจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (aged society) ในปี พ.ศ. 2574 โดยมีจำนวนผู้สูงอายุร้อยละ 20 ของประชากร และจะเป็นสังคมอุดมไปด้วยผู้สูงอายุ (super-aged society) ในปี พ.ศ. 2593 โดยมีจำนวนผู้สูงอายุร้อยละ 30 ของประชากร
การเปลี่ยนแปลงทางประชากรเช่นนี้กำลังเกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะในบรรดาประเทศที่พัฒนาแล้ว ทั้งนี้ประเทศไทยที่เป็นประเทศรายได้ปานกลาง และประเทศกำลังพัฒนา จะประเทศแรกที่จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุนั้นเป็นประเทศรายได้สูง ซึ่งลักษณะทางเศรษฐกิจนี้จะทำให้ประเทศไทยเผชิญกับความท้าทายเกี่ยวกับการจ้างงาน การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ลดลง และการดูแลและรองรับผู้สูงอายุ
“การแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพ เป็นความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพของทศวรรษถัดไป” ดร. บริตเนล กล่าว “การแก้ปัญหาระยะสั้นด้วยการเพิ่มจำนวนบุคลากรเป็นการแก้ปัญหาที่ง่ายเกินไป เราจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนในวงกว้างและมีผลกระทบมากกว่านี้ ถ้าเรามีระบบการแก้ปัญหาที่ดี เราจะสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการดูแลสุขภาพได้มากขึ้นถึงร้อยละ 20 เพื่อมาอุดช่องโหวของการขาดบุคคลากร”
ปัจจุบัน ประเทศไทยได้มีความพยายามที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้สูงอายุ ทั้งนี้แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564) ที่ถูกจัดทำขึ้นโดยคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ได้วางแผนยุทธศาสตร์ในการสร้างความปลอดภัยและคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้สูงอายุ ซึ่งรวมถึงความสามารถในการเข้าถึงสภาพแวดล้อมที่ดีและเป็นมิตร มีสวัสดิการและได้รับการบริการที่เหมาะสม มีชีวิตที่มีคุณค่า และสามารถเข้าถึงข้อมูล และข่าวสารได้
มาตรการที่ประเทศไทยและประเทศอื่นๆ จำเป็นต้องพิจารณาคือการใช้นวัตกรรมทางดิจิทัลและเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลและรักษาสุขภาพ และเพิ่มผลิตภาพในด้านอื่นๆ รวมถึงพิจารณารูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่นอกเหนือจากรูปแบบดั้งเดิม
“เราสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาการขาดแคลนบุคคลากรทางการดูแลสุขภาพ ในอนาคตได้ถ้าเรามีมุมมองใหม่ๆ ในด้านผลิตภาพของการดูแลสุขภาพ ถ้าเราสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้การรักษาพยาบาล เปลี่ยนนโยบายการลงทุนด้านการดูแลสุขภาพ ของประเทศ เพิ่มขีดความสามารถในการจัดการด้านการดูแลสุขภาพ ของผู้ป่วยเอง และนำเทคโนโลยี เช่น ปัญญาประดิษฐ์ มาใช้” บริตเนลกล่าวสรุป
English version: Demands for healthcare workforce will increase as Thailand’s population ages
[1] ตามเกณฑ์การแสดงสถิติของสหประชาชาตินั้น ผู้สูงอายุคือบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป
เกี่ยวกับดร. มาร์ค บริตเนล
ในฐานะประธานฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานของเคพีเอ็มจี ดร. มาร์ค บริตเนล บริหารพนักงาน 40,000 รายใน 157 ประเทศ
เขาเป็นผู้เชี่ยวชาญชั้นนำด้านระบบ healthcare ของโลกและเป็นผู้นำร่องวิสัยทัศน์ด้านสุขภาพทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้ว และกำลังพัฒนา ตลอดชีวิตการทำงานของเขา ดร. บริตเนลได้ทุ่มเทให้กับวงการการดูแลสุขภาพและมีประสบการณ์ในการทำงานกับองค์กรในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับโลกต่างๆ ในทุกด้านของการดูแลสุขภาพ ตั้งแต่องค์กรผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ นักลงทุน และทั้งองค์กรรัฐและเอกชน ในระยะเวลา 9 ปีที่ผ่านมาเขาได้ทำงานใน 75 ประเทศทั่วโลก และสามารถสั่งสมประสบการณ์ตรงได้เป็นอย่างมาก
หนังสือเล่มล่าสุดของเขาชื่อ Human: Solving the Global Workforce Crisis in Healthcare ได้เสนอแนวทางที่ชัดเจนและปฏิบัติได้จริงในการจัดการกับวิกฤติการขาดแคลนแรงงานด้านการดูแลสุขภาพ เขาได้มีการวิเคราะห์ปัญหาที่ระบบการดูแลสุขภาพ ชั้นนำของโลกกำลังต้องเผชิญอยู่และผลกระทบในอนาคตของปัญหาเหล่านี้ โดยเขาได้สรุปวิธีการแก้ปัญหาเรื่องดังกล่าวไว้ 10 ข้อด้วยกัน
เกี่ยวกับเคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล
เคพีเอ็มจี เป็นเครือข่ายระดับโลกของบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการสอบบัญชี ภาษี และการให้คำปรึกษา เราดำเนินงานใน 153 ประเทศ และมีพนักงานมากกว่า 207,000 คน ที่ทำงานร่วมกันในบริษัทสมาชิกทั่วโลก บริษัทที่เป็นสมาชิกเครือข่ายเคพีเอ็มจีจะถือเป็นสมาชิกของเคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล (KPMG International) เคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล เป็นบริษัทสัญชาติสวิส ทั้งนี้ แต่ละบริษัทที่เป็นสมาชิกเคพีเอ็มจีเป็นนิติบุคคลที่แยกต่างหากจากกัน และมีอิสระตามกฎหมาย
เกี่ยวกับ เคพีเอ็มจี ประเทศไทย
เคพีเอ็มจี ประเทศไทย เป็นสมาชิกของ เคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล ที่มีเครือข่ายทั่วโลก ซึ่งให้บริการด้านตรวจสอบบัญชี ภาษีและกฎหมาย และให้คำปรึกษาทางธุรกิจ ปัจจุบันมีพนักงานมากกว่า 1,700 คน
สำหรับสื่อมวลชน กรุณาติดต่อ:
พลอย พยัฆวิเชียร
เบอร์โทรศัพท์: 02 677 2034
อีเมล: ploi@kpmg.co.th
Some or all of the services described herein may not be permissible for KPMG audit clients and their affiliates or related entities.
© 2024 KPMG Phoomchai Holdings Co., Ltd., a Thai limited liability company and a member firm of the KPMG global organization of independent member firms affiliated with KPMG International Limited, a private English company limited by guarantee. All rights reserved.
For more detail about the structure of the KPMG global organization please visit https://kpmg.com/governance.